วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

8 อาชีพเสรีในอาเซียน



8 อาชีพเสรีในอาเซียน


ทันตแพทย์

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางทันตแพทย์ 
2. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 
3. มีความรู้ในการค้นและการประดิษฐ์ 
4. มีสุขภาพแข็งแรง บุคลิกดี รู้หลักจิตวิทยา คล่องแคล่ว พูดจาเก่ง 
5. มีฐานะทางการเงินดีพอสมควร 
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 


แนวทางการศึกษา
1. สอบตรง
     รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 ทางมหาวิทยาลัยมีการเปิดรับเอง สอบเข้าโดยข้อสอบของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การรับจะแตกต่างกันแล้วแต่สถาบัน
2. สอบตรง กสพท.
     รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 สมัครผ่านกสพท. สำหรับปีการศึกษา 2553 ใช้คะแนนต่าง ๆ ดังนี้
คะแนน O-NET 0% (คิดจาก 5 กลุ่มสาระวิชา คะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%)
คะแนนวิชาสามัญ 70% (จัดสอบโดยกสพท. แต่ละวิชาต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 30%)
คะแนนวิชาเฉพาะ 30% (จัดสอบโดยกสพท.)
สถาบันที่รับ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
3. แอดมิดชั่นกลาง
    รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ใช้คะแนน GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 2 20%

ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
-เป็นอาชีพที่มีเกรียติ
-ได้ช่วยเหลือประชาชนในประเทศ

ข้อเสีย
-ค่าใช้จ่ายในการเรียนสูง



รายได้
ทันตแพทย์สามารถทำงานในภาครัฐ และภาคเอกชนโดยประกอบอาชีพตามสถานบริการทันตกรรม โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้ และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้โดยประมาณ ดังนี้
 ประเภทองค์กร      เงินเดือน
       ราชการ     15,000
      เอกชน        40,000-70,000
เจ้าของคลินิก     300,000





สถาปนิก
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี
2. มีการทำงานที่มีระบบ3. ละเอียดรอบคอบต่องานที่ทำ เพราะเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย
4. ใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์
5. คำนึงถึงงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพมากกว่าค่าตอบแทน
6. เข้าใจในระบบเศรษฐกิจและการตลาด เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
7. รักและเสียสละ เพื่อพัฒนาท้องที่ในต่างจังหวัด
8. ต้องมีรสนิยมทางศิลปะที่ดี และรู้จักพัฒนารสนิยมให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
9. คำนึงถึงผลกระทบที่มีแต่เมือง และสภาพแวดล้อม รวมถึงสภาพสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น
แนวทางการเรียน
จบ ม.ปลายสายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 5 ปี หรือจบระดับ  ปวส  ทางด้านการเขียนแบบ แล้วฝึกงานในสำนักงานสถาปนิก หรือศึกษาต่อเพื่อให้ได้ปริญญาทางสถาปัตยกรรม
วิชาเอกที่เปิดสอนมีดังนี้
สถาปัตยกรรม : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบบ้าน อาคารเล็ก-ใหญ่ ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมาย โครงสร้างแข็งแรง และที่สำคัญคือ สวยงาม จบแล้วก็ไปเป็นสถาปนิก เริ่มแรกอาจจะอยู่ในบริษัทก่อน ถ้าต่อมาเริ่มมีประสบการณ์สั่งสมมากขึ้น มีเงินมากขึ้นก็สามารถเปิดออฟฟิศเองก็ได้
สถาปัตยกรรมภายใน : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบภายในอาคารให้สวยงาม น่าสนใจ มีแสงสว่างและสิ่งต่างๆที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ จะ ทำงานในลักษณะที่ต้องลงรายละเอียดมากแบบ มากๆ จริงๆแล้ว สถาปัตยกรรม ก็มีรายละเอียดมากนะ แต่จะเป็นคนละแบบกัน จบไปเป็นสถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน การทำงานคล้ายๆสถาปนิกเลย แต่เป็นการทำงานตกแต่งแทนที่จะออกแบบอาคาร
สถาปัตยกรรมไทย : แน่นอนว่า ต้องเรียนเกี่ยวกะบ้านไทย ศิลปะไทยเช่น วัด อุโบสถ ลายไทย การแกะสลัก ปูนปั้น การเขียนลายต่างๆ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยและการบูรณะ ออกแบบวัดขึ้นใหม่ อาจจะ ทำงานกับกรมศิลปากร แต่ภาคนี้จะรับจากการสอบตรงอย่างเดียวนะจ๊ะ เพราะว่าคนที่จะมาเรียนด้านนี้ได้ น่าจะเป็นคนที่มีใจรักด้านนี้อย่างแท้จริง มากๆ
ภูมิสถาปัตยกรรม : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคาร รู้จักการเลือกใช้ต้นไม้ พืชพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเภทอาคาร การจัดสวนทั้งในพื้นที่เล็กๆทั้งภายนอกภายใน ไปจนถึงโครงการใหญ่ๆอย่างสนามกอล์ฟ สวนสาธารณะและอุทยานแห่งชาติเลยทีเดียว
ออกแบบอุตสาหกรรม : เรียนการออกแบบหลายๆอย่างทั้งผลิตภัณฑ์ ก็ประมาณแพคเกจจิ้งต่างๆด้วยแหละ ออกแบบตกแต่งภายในพวกดิสเพลย์หน้าร้าน ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบกราฟฟิก และเซรามิค โดยทุกคนจะได้เรียนหมดทุกตัว และเลือกทำทีสิส (วิทยานิพนธ์) ในตัวที่เราชอบและถนัดเพียงตัวเดียว จบแล้ว ก็ไปทำงานได้หลายหลายมาก ตามที่เรียนมา หรือจะรับงานฟรีแลนซ์ก็ได้ คือ ทำงานอิสระไม่ได้ทำตรงกับบริษัทไหนเฉพาะ เป็นครีเอทีฟ ออกแบบสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกแบบลายผ้าทำเฟอร์นิเจอร์
วางแผนภาคและผังเมือง : ภาคนี้เป็นน้องใหม่ของ ป.ตรีที่จุฬา แต่เดิมเปิดสอนในระดับ ป.โท ตอนนี้รับทั้งน้องสายวิทย์ และสายศิลป์อย่างละครึ่ง เรียนเกี่ยวกับการจัดการผังเมืองให้เป็นระบบ ทางสัญจร ระบบการบริการ การจัดการเมืองให้เป็นส่วน มีจุดเด่นที่ดี ทำให้ภาพของเมืองเป็นภาพที่น่าดู เป็นเมืองที่น่าอยู่ การทำงานก็ ประมาณว่า วางผังเมืองให้กับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น

ลักษณะงาน
 ผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกจะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น

ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
1.เราจะได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างเลยค่ะ ซึ่งมันจะไม่แค่ทำให้เราเป็นสถาปนิกที่ดีได้ แต่ยังสามารถออกแบบอย่างอื่นได้
2.ทำให้เราคิดอย่างสร้างสรรค์ นั่นก็เป็นการฝึกคิดค่ะ ให้เราได้ฝึกคิดตลอดเวลา

ข้อเสีย
1.เหนื่อย ต้องใช้แรงฮึดมาก 
2.การทำงานอาจจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการจ้างงาน



รายได้
สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือน ขั้นต้นอยู่ระหว่าง 15,000 -20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ







นักบัญชี

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
2.ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
3.ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
4.มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
5.สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
6.กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
7.ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
8.นักบัญชีที่ดีเปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ

 แนวทางการเรียน
ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย และสำหรับพนักงานบัญชี ที่ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีในสถานประกอบการที่จดทะเบียนการค้า ต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 3 ปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีฯประกาศกำหนด
สถาบันที่เปิดสอน
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
 มหาวิทยาลัยทักษิณ 
 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
 มหาวิทยาลัยนเรศวร 
 มหาวิทยาลัยบูรพา 
 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
 มหาวิทยาลัยมหิดล 
 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 
 มหาวิทยาลัยรามคำแหง และอีกมากมาย


ลักษณะงาน
ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์รายการธุรกิจและบันทึกผลทางการเงิน การรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบบัญชี การวางแผนทางบัญชี และการวางระบบทางบัญชีแก่สถานประกอบการต่างๆ

ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
1.เป็นอาชีพที่มีเกียรติ ปฎิบัติตน ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในวิชาชีพ ท่านจะได้รับเกียรติและการยอมรับจากลูกค้าและบุคคลทั่วไป
2. สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ถือ ว่ามีส่วนร่วมในสังคม เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล อันทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ข้อเสีย
1.รับงานที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่เลือกว่ากิจการใดประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์หรือไม่ ช่วยเหลือลูกค้าเลี่ยงภาษีอากร บันทึกตัวเลขบัญชีโดยไม่มีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือลูกค้าจนเกินเหตุ ขาดจรรยาบรรณ ท่านอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีได้
2. ยักยอกเงินภาษี ทำให้เสียสถาบันวิชาชีพอย่างร้ายแรง
3.ถ้าบริการแย่ลง มีข้อผิดพลาดบ่อย ทำให้ลูกค้าให้คนอื่นทำแทน
4. ขาดการเอาใจใส่ ปล่อยให้ลูกจ้างทำงาน โดยไม่ได้ติดตามผลงาน ถ้าลูกจ้างบริการไม่ดีผลเสียจะตกกับเรา บางรายมีลูกจ้างให้บริการดีเราก็ดีด้วย แต่บางทีลูกจ้างที่ดีลาออกไป ไม่ออกเปล่าแถมดึงลูกค้าเราติดไปด้วยอย่างนี้ก็มีเยอ

รายได้
ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานพนักงานบัญชี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมีดังนี้
วุฒิการศึกษา                  เงินเดือน
                            ราชการ       เอกชน
      ปวส.                5,600          6,000
      ปริญญาตรี         6,500          9,500








นักสำรวจ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.มีความอดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
2.การกินอยู่ง่ายๆ
3.มีความรอบคอบในการทำงาน
4.มีความซื้อสัตย์ต่องาน
5.ทำตัวให้เข้ากับชาวบ้านได้ โดยใช้หลักจิตวิทยา
6.มีความสามัคคีในหมู่คณะ
7.ตื่นตัวในการทำงานตลอดเวลา
8.หมั่นสังเกตและปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ

แนวทางการศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างสำรวจจากสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาหรือสาขาวิชาช่างกลโรงงานจากสถานศึกษาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสำหรับผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3หรือเทียบเท่าขึ้นไป และเข้ารับการฝึกในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเป็นเวลา 10 เดือน และส่งไปฝึกงานในสถานประกอบการ 4 เดือน รวมระยะเวลาฝึกทั้งหมด 14 เดือนจึงจะได้รับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) แนวการฝึกเน้นภาคปฏิบัติ 70% ความรู้ความสามารถที่ จำเป็น ได้แก่ อ่านแบบ เขียนแบบก่อสร้างเทคนิคการก่อสร้าง อาคารขนาดเล็ก การสำรวจรังวัด หลักการบริหารงานก่อสร้างการประมาณราคาและการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างทั้งในห้องเรียนโรงฝึกงานและออกฝึกในสถานการณ์จริงบริเวณสถานที่ก่อสร้าง
สถาบันที่เปิดสอน
1.ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2498 และในปัจจุบันเป็นภาควิชาเดียวในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนและวิจัยในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมสำรวจ
2.สาขาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ชื่อเดิม วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) เริ่มก่อตั้งตั้งขึ้นมา เมื่อพ.ศ. 2498 เปิดสอนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีภาคปกติ และปริญญาตรีภาคสมทบ
3.สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) เปิดสอนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ
4.สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี

ลักษณะงาน
            ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ได้แก่ผู้ควบคุมและทำการสำรวจพื้นดินและท้องน้ำ เพื่องานทำแผนที่หรือแผนภูมิงานก่อสร้างงานเหมืองแร่หรือเพื่องานอื่นๆโดยการกำหนดสถานที่ตั้งและวาดภาพแสดงลักษณะภูมิประเทศรวมถึงการสำรวจบริเวณพื้นดินและท้องน้ำการสำรวจบริเวณทะเลและเหมืองแร่และการสำรวจประเภทอื่นๆเป็นผู้ช่วยนักสำรวจเกี่ยวกับการใช้และดูแลรักษาเครื่องมือต่างๆในขณะปฏิบัติงานช่วยแปลข้อมูลที่ได้จากงานสนาม และทำงานอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน

ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
1.ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นอยู่ ของชาวบ้านที่เราลงพื้นที่
ข้อเสีย
1.ไม่ได้อยู่กับครอบครัวมากนะเพราะต้องลงพื้นที่บ่อยๆ

รายได้
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 4,700-4,500-5,500                        
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  5,740-5,500-6,500      
 สำหรับงานเอกชนนั้นอัตราเงินเดือนขึ้นอยู่กับความสามารถความชำนาญงาน และวุฒิการศึกษาของแต่ละบุคคลนอกเหนือจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำแล้ว อาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นในรูปของสวัสดิการต่างๆเช่นค่ารักษาพยาบาลค่าเล่าเรียนบุตร โบนัส บำเหน็จ บำนาญ  











หมอ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพหมอ
  1. สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์ 
  2. ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็น 
      อย่างดี 
  3. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค 
  4. สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลา และความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการ เจ็บป่วย มี    จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ 
  5. มีมารยาทดีสามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับมีความอดทนอดกลั้นและมีความกล้าหาญ  
  6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทาง 
     วิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 
แนะแนวการเรียนหมอ
 -หมอต้องเรียน 6 ปี
   ปี 1เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ แคลคูลัส แม้กระทั่งภาษาอังกฤษ
   ปี 2เริ่มเข้าสู่ความเป็นหมอมากขึ้น ต้องเรียน "Anatomy"จะมีอาจารย์ที่มีบุญคุณต่อเรามากก็คือ "อาจารย์ใหญ่" ท่านเสียสละร่างกายอุทิศให้เราเรียนเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ และยังต้องเรียนเกี่ยวกับสรีรวิทยาระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ว่าทำงานอย่างไร
   ปี 3ก็เรียนเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ก่อโรคแก่มนุษย์ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ แต่ต้องจำชื่อเชื้อโรคด้วย และก็เริ่มลงรายละเอียดเกี่ยวกับโรคต่างๆ พยาธิวิทยา และเรียนเกี่ยวกับยาด้วย
    ปี 4 - 5 - 6เรียนเกี่ยวกับผู้ป่วยจริงๆ ต้องขึ้นปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยตามแผนกต่างๆ เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวช กุมารเวช กระดูก ตา หู คอ จมูก ฯลฯ น้องๆ จะได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมงานดูแลผู้ป่วย





สถานการศึกษา
โรงเรียนแพทย์ของรัฐ
 1. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
 2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 4. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
 8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 9. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 10. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (เดิมใช้ชื่อ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล)
 11. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 12. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 13. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
 14. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 15. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
 18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
 19. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)

โรงเรียนแพทย์เอกชน
 1. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
 2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)

ลักษณะของงานที่ทำ
ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติ

รายได้
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน : 69,000 บาท
ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี
-โลกทัศน์กว้างเพราะได้พบปะพูดคุยกับคนหลายอาชีพ                                                                        -งานที่ทำมี 'คุณค่าในตัวของมันเอง คือได้ช่วยเหลือผู้ป่วย
-'ท้าทายมีปริศนาใหม่มาให้ขบคิดทุกวัน ว่าผู้ป่วยไม่สบายเพราะอะไร                                                             -เป็นที่พึ่งแก่ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงรวมไปถึงญาติของเพื่อนฝูงยามที่เจ็บไข้ได้ป่วย
-เห็นสัจธรรม 'กับตาตัวเองว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดาจริงๆ มันเกิดขึ้นอยู่ทุกๆวัน ไม่มีวันหยุด และไม่เลือกเวลา
-ทดแทนคุณพ่อแม่ โดยทำให้ท่านมีความสุข เพราะท่านจะภูมิใจที่มีลูกเป็นแพทย์ แม้ว่าจะไม่เข้าใจว่าภูมิใจอะไรนักหนา
-ไปทำอาชีพอื่นเล่นๆแก้เซ็งได้ เกือบทุกอาชีพ: เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักธุรกิจ เป็นนักลงทุน(เล่นหุ้น) เป็นนักเขียน เป็นนักร้อง เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ เป็นกัปตันขับเครื่องบิน เป็นนักเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นส.ส. เป็น ส.ว. เป็นรัฐมนตรี หรือแม้แต่ผู้นำประเทศ ฯลฯ แต่คนอาชีพอื่นมาเป็นแพทย์ไม่ได้
-ถ้าเป็นผู้หญิงแต่งงานแล้วก็ไม่ต้องใช้ 'นางนำหน้า ใช้ 'แพทย์หญิงแทน

ข้อเสีย
-เรียนนาน
-งานหนัก
-รักคุด ไม่ค่อยมีเวลา
-สุดเลอะ เสี่ยงต่อการสัมผัสเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ เสมหะ ของผู้ป่วย








วิศวกร
1) คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพวิศวกร
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา
2. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. มีวิสัยทัศน์และสนใจกับเหตุการณ์ ข่าวสารที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีจรรยาบรรณของวิศวกร
4. มีความอดทนและเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดสุขุม
5. มีลักษณะเป็นผู้นำ ทั้งนี้งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการควบคุมคนเป็นจำนวนมาก
6. มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี
7. ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรในทุกสาขาควรจะมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใช้ในการรับรองสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องมี คุณสมบัติ และวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่ กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สังกัดกระทรวงมหาดไทย
2) แนะแนวการเรียนวิศวกร

บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สามารถทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานการพลังงานแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ หรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โรงงานยาสูบ หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งยังศึกษาต่อปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศได้ด้วย

-สาขาที่เปิดสอน

วิศวกรรมนาโน 
วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ 
วิศวกรรมอากาศยาน 
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมเรือ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมเซรามิก
วิศวกรรมแมคาทรอนิกส์
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมนอกฝั่งทะเล
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมโทรคมนาคม

-สถานการศึกษา


 ลักษณะของงานที่ทำ
ออกแบบ วางแผน และสั่งการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนในโรงงาน หรือสถานที่ประกอบการวิเคราะห์ และหาแนวทางในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในเหมาะกับงาน สิ่งแวดล้อม และผู้คนที่จะมาใช้ชิ้นงานนั้นเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงาน วิศวกรจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเลือกมาใช้ให้เพราะกับงานที่ตนเองกำลังทำอยู่

รายได้
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน : 25000 บาท

 ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี 
- มีตำแหน่งได้เป็นเจ้านายคน
- ได้เรียนรู้งานหลากหลายแนว ทั้งด้านวิศวกรรม การบริหารคน ระบบการเงิน

ข้อเสีย                                                                                                                                     - เหนื่อยมาก วันหยุดน้อย
- แรงกดดันสูงมาก
- ความรับผิดชอบสูง ต้องรับผิดชอบทั้งเนื้องานและความปลอดภัยของลูกน้อง







พยาบาล
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพพยาบาล
1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)
3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ
5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
2) แนะแนวการเรียนพยาบาล
-สถานการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล มีทั้งหมด121
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ลักษณะของงานที่ทำ
รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้

 รายได้
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  :  16,000 บาท

ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี
1.ผู้ปฏิบัติหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะได้รับตำแหน่ง และเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ  2.การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วขึ้น                                                3.สามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ 
ข้อเสีย

1. พยาบาลดูแลคนอื่นได้ แต่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
2. พยาบาลไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว
3. ต้องอยู่กับเชื้อโรค เสี่ยงต่อการติดเชื้อ (กรณีไม่ใช่พยาบาลเฉพาะทางแบบพวกจิตเวช)
4. ต้องออกกำลังกายอยู่เสมอ ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง (แต่จะเอาเวลาที่ไหนไปออกกำลังกาย)
5. พยาบาลไม่ค่อยมีเวลาพักกินข้าว จะกินอะไรก็ต้องกินของแบบว่า กึ่งสำเร็จรูป หรือพวกของในเซเว่น เพราะไม่มีเวลาพักที่แน่นอน













1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2565 เวลา 04:06

    king of spades - Shootercasino
    king of spades. 제왕카지노 Gameplay and information. 샌즈카지노 King of Spades is a card game in which spades 1xbet korean are trumps with a total of four cards. The

    ตอบลบ